วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2552

การสมัคร Gmail

ขั้นตอนการสมัคร Gmail

ขั้นตอนการสมัคร Gmailไม่มีอะไรยุ่งยากมากนัก เพียงแต่กรอกข้อมูลตามที่แบบฟอร์มเท่านั้นเพื่อไม่เสียเวลา ทำตามขั้นตอนดังนี้เลย

ขั้นตอนแรก พิมพ์ http://www.gmail.comจากนั้นจะปรากฏหน้าต่าง ดังภาพ



จากนั้นคลิกที่ ลงทะเบียน Gmail [Sing Up For Gmail] หรือสร้างบัญชี จะปรากฏหน้าต่างขึ้น

พิมพ์รายละเอียดตามที่ปรากฏให้ครบ

1. First name : ชื่อ ใส่ชื่อเราลงไป
2. Last name : นามสกุล ใส่นามสกุลเราลงไป
3. Desird Login Name ชื่อการเข้าสู่ระบบที่ต้องการ
4. Check availability! คลิกเพื่อตรวจสอบว่ามีผู้ใช้แล้วหรือยัง
5. Choos a password รหัสผ่าน
6. Re-enter a password กรอกรหัสผ่านอีกครั้ง
7. Security Question เลือกคำถามที่ต้องการ
8. Answer คำตอบ
9. Secondary email เมล์สำรองเพื่อแจ้งปัญหา
10. Location เลือกเป็น ราชอาณาจักรไทย
11. Word Verification พิมพ์คำตามที่ปรากฎในรูป
12. คลิก I accept Create my account (ฉันยอมรับโปรดสร้างบัญชีของฉัน)

จากนั้นจะปรากฏเป็น Gmail ของเราเอง หน้าตาจะออกมา ดังภาพ



รู้ลึก รู้จริง เรื่อง Gmail

เว็บไซต์ที่ให้บริการฟรีอีเมลมีอยู่มากมาย แต่ที่เป็นที่นิยมและเป็นรายใหญ่คงจะหนีไม่พ้น Hotmail และ Yahoo แต่แล้วสองยักษ์ใหญ่ในวงการอีเมลก็ต้องหวาดกลัว เมื่อ Google ที่เป็นเจ้าแห่งการ Search Engine ประกาศจะทำการเปิดบริการ Gmail ฟรีอีเมลใหม่ ซึ่งจะให้เนื้อที่แก่ผู้ใช้บริการมากถึง 1 กิกะไบต์ หรือ 1,000 เมกกะไบต์ (MB) ซึ่งมากกว่า Yahoo และ Hotmail ประมาณพันเท่า ซึ่งทำให้ในอนาคต Google จะกลายเป็นคู่แข่งของ Microsoft ในเรื่องให้บริการฟรีอีเมล

รายละเอียดของ Gmail

Gmail คือบริการฟรีอีเมลที่ทำงานบนระบบ Search Engine หน้าตาดูจะไม่แตกต่างจากรูปแบบของ Google เท่าไหร่ กล่าวคือไม่มีลูกเล่น ดูเรียบง่ายแต่เน้นที่ความรวดเร็วในการเข้าถึงเป็นหลัก สัญลักษณ์ (logo) นั้นประกอบไปด้วย 4 สี คือ น้ำเงิน เขียว แดง และเหลือง ยังคงความเป็น Google ได้ดีมาก โดยหน้าหลักของ Gmail ประกอบไปด้วย 3 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่หนึ่ง คือส่วนด้านซ้าย ทำหน้าที่คล้ายๆกับบริการฟรีอีเมลอื่น ๆ นั่นคือให้เข้าถึงส่วนต่าง ๆ ของบริการได้ง่าย ประกอบด้วย Inbox , Sent mail , All mail , Spam หรือ Junk mail , Trash
ลูกเล่นที่น่าสนใจ “Starred” เป็นส่วนพิเศษที่เว็บอื่นไม่เคยมีให้ Starred เป็นการทำเครื่องหมาย (Mark) ให้แก่จดหมาย เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของผู้ใช้ว่า อีเมลที่ถูก mark นั้น สำคัญกว่าอีเมลอื่นๆ และอีกส่วนหนึ่งคือ Labels ซึ่งทำงานคล้ายกับ folder เราสามารถเพิ่มเข้าไปในจดหมายฉบับใดก็ได้ และในแต่ละ folder ก็จะมี labels ได้หลายอัน หลายท่านอาจจะมองภาพไม่ออก จึงขอยกตัวอย่างให้ดู เช่น แฟ้มเก็บเอกสาร 1 แฟ้ม ในเอกสารทั้งหมดอาจจะมีแผ่นกระดาษแทรกแบ่งเอาไว้ด้วยว่า ช่วงหน้าไหนมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร ก็เป็นทำนองเดียวกัน labels ก็คือส่วนที่จะบอกเราได้ว่าจดหมายฉบับไหนเป็นอะไร ซึ่งจะเป็นการแยกย่อยลงไปได้อีกในแต่ละ folder

ส่วนที่สอง คือ ส่วนกลาง จะเป็นจดหมาย ประกอบด้วยชื่อผู้ส่ง, หัวข้อจดหมาย, เวลาที่รับจดหมายเข้ามา นอกจากนี้แล้ว ยังมีปุ่มใช้งานทั้งบนและล่างของส่วนกลาง ซึ่งเราสามารถที่จะใช้ปุ่มเหล่านี้ทำงานคู่กับการทำเครื่องหมายถูกหน้าจดหมาย หลังจากนั้นเลือก Report As Spam จะเป็นการบอกให้ Gmail ทราบว่าจดหมายฉบับนี้เป็นอีเมลขยะ ดังนั้นระบบทำการจัดเก็บ เพื่อทำเป็นฐานข้อมูลในการตรวจจับspam ในคราวต่อไป เป็นต้น

ส่วนที่สาม เป็นส่วนที่ทำให้ Gmail พิเศษกว่าที่อื่น คือ “ การค้นหาอีเมล” (search mail) เพียงแค่ใส่คำหลัก(key words) ลงไป แล้วกด search mail จากนั้นการทำงานก็จะเหมือน Search Engine ทุกประการ อีเมลทุกฉบับที่มีคำหลักนั้นก็จะปรากฏขึ้นมา ซึ่งในส่วนนี้ จะรวดเร็ว ง่าย และเปี่ยมประสิทธิภาพ เป็นหัวใจหลักของ search mail ที่ Gmail ต้องการมีไว้สำหรับใช้ดึงดูดผู้ใช้บริการ เนื่องจาก Gmail แปลงจากระบบกล่องเก็บจดหมาย มาเป็น “ห้องสมุดเก็บจดหมาย” โดยใช้ระบบ Indexing Technology ดังนั้นผู้ใช้จึงสามารถที่จะเก็บอีเมลได้มากเท่าที่ต้องการ


ข้อควรระวังในการใช้ Gmail
ถึงเราจะลบรายชื่อเมลแล้ว ก็ยังสามารถ Search หาใหม่ได้ทุกเมื่อ เนื่องจากอีเมลนั้นก็เพียงแต่หายไปจากเครื่อง แต่มิได้หายไปจากฐานข้อมูลของ Google นั่นหมายความว่า อีเมลส่วนตัวทุกฉบับที่มีการส่งถึงกันระหว่างผู้ใช้บริการ Gmail จะต้องผ่านการตรวจสอบและสแกนจากทาง Google เพื่อที่จะนำเข้าสู่ฐานข้อมูล Search Engine E-mail ซึ่งทางด้านกฎหมายถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล (เหมือนกับว่าทาง Google จะสามารถล่วงรู้ความลับของเราได้ทุกเมื่อ หากมีการติดต่อกันผ่านทางอีเมล) ดังนั้นหากมีอีเมลที่เป็นความลับ หรือเป็นส่วนตัว ไม่อยากเก็บไว้ เราก็จะไม่มีทางลบให้หายไปได้อย่างถาวร เนื่องจากทุกอย่างขึ้นตรงกับ Google แต่เพียงผู้เดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น